The Best Gundam Website in Thailand - ThaiGundam.com

MODEL ZONE => Technics & Tools / เทคนิค => ข้อความที่เริ่มโดย: naykai ที่ เมษายน 10, 2012, 11:28:54 pm

หัวข้อ: เทคนิคการถ่ายทำภาพ 3D
เริ่มหัวข้อโดย: naykai ที่ เมษายน 10, 2012, 11:28:54 pm
เทคนิคภาพเหลื่อม (anaglyph image)
     คือ เทคนิคการบันทึกและการดูภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเสมือนสามมิติ พัฒนามาจาก Stereo Pairs หรือการดูแบบสลับภาพด้วยตาเปล่า ซึ่งวิธีนี้ค่อนข้างลำบาก ทำให้ ดูว์ ฮาว์รอน (Du Hauron) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้คิดค้นระบบภาพเหลื่อมขึ้นในปี ค.ศ. 1891โดยใช้หลักการการดูแบบสลับตาด้วยตาเปล่า (Cross-Eye View) ซึ่งสามารถดูได้เองโดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือช่วย โดยการวางภาพขวา ไว้ด้านซ้าย และวางภาพซ้ายไว้ด้านขวา จากนั้น ใช้ตาขวาดูภาพด้านซ้าย และใช้ตาซ้ายดูภาพด้านขวา เมื่อเริ่มดูภาพ ภาพทั้งสองจะค่อยๆ เคลื่อนเข้าหากัน จนเกิดการรวมของภาพและเกิดเป็นภาพ 3 มิติ

    ดูว์ ฮาว์รอน อาศัยหลักการของสี การตัดกันของสี โดยผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ดูภาพแบบ Anaglyph ขึ้นมา โดยมักกำหนดให้เป็นสีฟ้าอมเขียว (Cyan) และ สีแดง (Red) เมื่อลองนำอุปกรณ์ที่ทำเป็นแว่นตามองดูภาพแปดเหลี่ยมที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้ทดสอบ โดยปิดและเปิดตาทีละข้างจะสังเกตเห็นว่าเมื่อปิดตาซ้ายและเปิดตาขวา (มองรูปผ่าน Filter สีฟ้าอมเขียว) จะมองเห็นว่าสีแดงนี้จะหายไปเหลือแต่เส้นสีขาว จากนั้นเปิดตาซ้ายปิดตาขวา (มองFilter สีแดง) จะมองเห็นว่าสีฟ้าอมเขียวหายไปเหลือแต่เส้นสีขาว แต่เมื่อลืมตาพร้อมกันผ่าน ทั้งสองข้าง จะเห็นกรอบสีขาวของรูป 8 เหลี่ยมชัดเจน นี่คือหลักการของภาพ 3 มิติ แบบ Anaglyph
ภาพที่ได้จากกล้องทั่วไป หรือภาพจากการ Scan ด้วยเครื่อง Scanner ถ้าเป็น Mode ภาพแบบ RGB คือ ภาพ 1 ภาพจะมีองค์ประกอบของสีแดง (R) สีเขียว (G) สีน้ำเงิน (B)
   
    ภาพ 3 มิติ แบบ Anaglyph นั้นประยุกต์มาจากภาพคู่ หรือ Stereo Pairs คือ มีรูปด้านซ้ายและขวา แทนภาพที่มอง เห็นจากตาข้างซ้ายและตาขวาของมนุษย์ จากนั้นทำการตัดสีของภาพ Stereo pairs ทั้ง 2 ภาพออก โดยให้ภาพทางขวาเป็นภาพสีแดง (ตัดสีเขียวและสีน้ำเงินออก)
    และภาพทางซ้ายจะเป็นภาพสีฟ้าอมเขียว (ตัดสีแดงออก) และนำภาพที่ได้นี้มาซ้อนเหลื่อมกัน การวางภาพให้ซ้อนเหลื่อมกันนั้นโดยส่วนใหญ่จะให้ภาพที่เหลื่อมทางขวาเป็นภาพสีแดง และภาพที่เหลื่อมทางซ้ายจะเป็น ภาพสีฟ้าอมเขียว อย่างไรก็ตามการวางภาพเหลื่อมนี้ไม่ได้บังคับตายตัว เราสามารถที่จะกำหนดให้ภาพเหลื่อมด้านขวาเป็นสีฟ้าอม เขียว และภาพทางด้านซ้ายเป็นสีแดงก็ได้ แต่แว่นตาที่ใช้ สำหรับดูภาพนี้ต้องใส่ Filter ให้สลับด้านเท่านั้น เช่น ถ้ากำหนดให้ภาพสีแดงเหลื่อมทางด้านขวาก็ต้องใช้ที่Filter สีแดงอยู่ที่ตาซ้าย เป็นต้น

• การมองภาพ 3 มิติ แบบภาพเหลื่อม Anaglyph
• การดูภาพเหลื่อม Anaglyph ต้องอาศัยแว่นตาพิเศษที่มีสองสี ตามมาตรฐานแล้ว มักใช้สีฟ้าอมเขียวสำหรับตาขวา (แต่หากหาไม่ได้สามารถใช้สีน้ำเงินแทนได้) และสีแดงสำหรับตาซ้าย
• การมองจากแว่นทางด้านซ้ายจะได้รูปที่เป็นโทนสีแดง ทำให้สามารถแยกภาพออกมาได้ แต่จะเห็นว่าภาพที่มองได้จะเป็นภาพที่ได้จากกล้องทางด้านขวามือ เช่นเดียวกับเมื่อมองภาพผ่าน Filter สีฟ้าอมเขียว (คือ ภาพที่ได้จากกล้องด้านซ้ายมือ) ตามหลักการมองภาพแบบไขว้ (Cross-Eye View) แต่ในความเป็นจริงเรามองภาพนี้ผ่าน Filter ทั้งสองพร้อมกัน ทำให้เป็นการจำลองภาพเหมือนกับว่าเรากำลังจ้องมองภาพเดียวกันอยู่ ทำให้เราเห็นถึงส่วนลึกและมิติของภาพได้
(wikipedia) (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1)


(http://i124.photobucket.com/albums/p36/naykai/How%20to%203D%20Anaglyph/01.jpg)
(http://i124.photobucket.com/albums/p36/naykai/How%20to%203D%20Anaglyph/02_03.jpg)
(http://i124.photobucket.com/albums/p36/naykai/How%20to%203D%20Anaglyph/04.jpg)
(http://i124.photobucket.com/albums/p36/naykai/How%20to%203D%20Anaglyph/04_1.jpg)
(http://i124.photobucket.com/albums/p36/naykai/How%20to%203D%20Anaglyph/05.jpg)
(http://i124.photobucket.com/albums/p36/naykai/How%20to%203D%20Anaglyph/06.jpg)
(http://i124.photobucket.com/albums/p36/naykai/How%20to%203D%20Anaglyph/06_1.jpg)
(http://i124.photobucket.com/albums/p36/naykai/How%20to%203D%20Anaglyph/07.jpg)

ข้อดีของเทคนิคนี้ ช่วยให้ภาพดูมีมิติงานสร้างอลังการ
แต่ก็มีข้อเสีย คือไม่เห็นสีอื่นๆ ดูนานๆอาจทำให้ตาบอดสีได้ หากดูแล้วรุ้สึกไม่ดีอยากจะอ้วกให้รีบถอดแว่นโดยทันที
ยังไงก็ดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับ

ขอให้สนุกกับการถ่ายทำ
ส่วนท่านใดต้องการจะศึกษาเทคนิคเพิ่มเติม สามารถค้นหาจาก Google ได้โดยใช้คีย์เวิร์ดคำว่า 3D anaglyph นะครับ

Gallery
(http://i124.photobucket.com/albums/p36/naykai/How%20to%203D%20Anaglyph/DSCF1983_right.jpg)
หัวข้อ: Re: เทคนิคการถ่ายทำภาพ 3D
เริ่มหัวข้อโดย: Tonk_Sittichai ที่ เมษายน 11, 2012, 11:56:57 am
ขอบคุณครับ เอาไปเลย +1 Like