The Best Gundam Website in Thailand - ThaiGundam.com
GENERAL => Off-Topic / สัพเพเหระ => ข้อความที่เริ่มโดย: naroki ที่ พฤศจิกายน 27, 2013, 11:05:34 pm
-
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=SPdDGMuR04A[/youtube]
เห็นบางคนไม่ค่อยเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับการฉีดพลาสติก เลยจะมาอธิบายเกี่ยวกับการทำพลาสติกโมเดลแบบคร่าวๆ
ซึ่งขั้นตอนแบบทั่วๆไปจะแบ่งขั้นตอนคร่าวๆออกเป็นสเตปต่างๆดังนี้
1. วางแผนการผลิต
2. ออกแบบรูปทรง 3D
3. ออกแบบการวางชิ้นส่วนต่างๆ
4. เริ่มทำตัวโปรโตไทป์ต้นแบบ
5. เริ่มทำการผลิตแม่พิมพ์
6. เริ่มทดลองฉีดงาน
7. ตรวจสอบระบบการผลิต
8. ทำการวางขาย
ว่ากันตามขั้นๆทั่วไป
1. เริ่มวางแผนการผลิต
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/13082213343daf0989c324fa58.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/13082213343daf0989c324fa58.jpg.html)
นั่นก็คือเริ่มวางแผนการณ์ว่าจะขายเมื่อใหร่ วางกดหนดช่วงระยะเวลาต่างๆ
2. เริ่มวาด CAD 3D
ในการดีไซนน์สมัยใหม่มักใช้ CAD 3D เป็นหลักในการออกแบบ โดยการปั้นรูปทรงในแบบ 3D ตามที่ต้องการ ก่อนที่จะไปขั้นตอนการออกแบบต่อไป
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/1380972375127.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/1380972375127.jpg.html)
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/m126_m0002.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/m126_m0002.jpg.html)
3. เริ่มทำการออกแบบโครงสร้าง การแยกชิ้นส่วนต่างๆ
เพราะการออกแบบด้วย CAD 3D นั้น ในขั้นตอนนี้สำคัญที่สุด เพราะถ้าขึ้นแม่พิมพ์เหล็กไปแล้วจะทำอะไรก็ยาก
สำหรับโปรมแกรมที่พอรู้จักก็ได้แก่ NX และ Solid work อต่เอาจริงๆโปรแกรมพวกนี้มีเยอะมาก ตามแต่บริษัทจะซื้อมาใช้กัน
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/mg102_mb0004.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/mg102_mb0004.jpg.html)
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/m126_m0003.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/m126_m0003.jpg.html)
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/nx09_ms0018.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/nx09_ms0018.jpg.html)
4. เริ่มทำโปรโตไทป์ต้นแบบ
เพราะแม่พิมพ์เหล็กนั้นแพงมาก จึงมักมีการสร้างตัวต้นแบบคร่าวๆขึ้นมาก่อนเพื่อเช็คการดีไซนน์ต่างๆ
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/hdhe.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/hdhe.jpg.html)
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/hdhh.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/hdhh.jpg.html)
สำหรับพวกโปรโตไทป์จะเห็นว่า ผิวมักจะสาก บางทีก็เป็นลายๆ และมักจะสีใส ถ้าเป็นอย่างนี้มักจะเกิดจากเครื่องทำเรปิดโปรโตไทป์แบบทั่วไป
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/prototype_31.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/prototype_31.jpg.html)
ทำหรับเครื่องเรปิด โปรโตไทป์ จะใช้หลักการของการฉีดพลาสติกแบบเป้นชั้นๆ คือ จะคล้ายๆเครื่องปริ้น แต่ฉีดพลาสติกออกมาตามความหนาของหัวฉีดพลาสติก และค่อยๆฉีดทับๆกันเป็นชั้นๆ หรือเรเยอร์
ทำให้ตัวโปรโตไทป์ต้นแบบของงานกันพลาที่เราเห็นมักเห็นเป็นลายชั้นๆ
ซึ่งความคมชัดขึ้นอยู่กับหัวฉีดของเครื่องโปรโตไทป์เป็นหลัก เช่น ถ้าหัว 0.3มิล จะฉีดพลาสติกได้ชั้นละ 0.3 มิล พวกดีเทลที่หนา 0.1 มิล จะไม่สามารถทำได้ หรือหายไปเลย เป็นต้น
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/MMS_0411_n_zcorporation.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/MMS_0411_n_zcorporation.jpg.html)
ซึ่งงาน เรปิด โปรโตไทป์พวกนี้ ข้อดีคือถูก (แต่ถ้าเทียบกับเงินในกระเป๋าเราๆท่านๆก็ยังแพงนะ) บ้านเรามีบริษัทรับจ้างอยู่ แต่ชิ้นเล็กๆก็ราคาหลักพันแล้ว ใครคิดจะซื้อไปทำกันพลาออริจินอลนี่เลิกคิดได้เลยเพราะโปรโตไทป์พวกนี้เปราะมาก เนื่องจากเป็นการฉีดพลาสติกเป้นชั้นๆซ้อนกัน การเชื่อมต่อระหว่างชั้นเลยหลวมๆ ทำให้ตามรอยต่อนั้นแตกง่ายมาก
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/Image017.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/Image017.jpg.html)
ซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่นี้ เราสามารถทำ ปรินเตอร์ 3D ได้แล้ว แต่ราคาก็พุ่งขึ้นไปอีก
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/Is-3D-printing-the-next-big-thing-or-the-next-big-bust.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/Is-3D-printing-the-next-big-thing-or-the-next-big-bust.jpg.html)
5. เริ่มทำการผลิตแม่พิมพ์
ทำการผลิตแม่พิมพ์ตาม 3D ต้นแบบที่ส่งไป ซึ่งวิธีการนั้นก็ไม่ง่าย เพราะถ้าทำมั่วๆซั่วๆ มักจะฉีดออกมาแล้วมีปัญหามาก สมัยใหม่เราเลยมักใช้โปรแกรมคำนวนการใหลของพลาสติกเพื่อจำลองการทำงานในขั้นตอน แมสโปรดักชั่น เพื่อลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/header-process.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/header-process.jpg.html)
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/front-spoiler-filling-simulation-result.png) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/front-spoiler-filling-simulation-result.png.html)
ซึ่งส่วนใหญ่ จะใช้โปรแกรมจำลองการใหลของพลาสติกเพื่อเช็คการออกแบบแม่พิมพ์เพื่อลดปัญหาที่อาจจะเกิดในอนาคตให้มากที่สุด
สำหรับการออกแบบแม่พิมพ์ก็ใช้แกรมแกรมเช่นเดียวกัน เพื่อจำลองการทำงานของแม่พิมพ์ขณะทำงานจริงๆ
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/200803fa1c.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/200803fa1c.jpg.html)
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/1146.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/1146.jpg.html)
ซึ่งสำหรับโครงสร้างของแม่พิมพ์หลักการง่ายๆทั่วไปคือจะมีซีกบนกับซีกล่าง ส่วนบนที่เป็นผิวงานจริงๆจะเรียกว่า Cavity และส่วนล่างจะเรียกว่า Core
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/mold_structure_03.gif) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/mold_structure_03.gif.html)
ซึ่งหลักการพื้นฐานง่ายๆคือ ซีกบนทับซีกล่าง ฉีดพลาสติกเข้าไป แล้วใช้ Ejector pin ดีดให้ชิ้นส่วนกระเด็นออกมาจาก Core
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/Fig3.gif) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/Fig3.gif.html)
ซึ่งหัวใจของการออกแบบพลาสติกคือ จะต้องไม่มี Undercut เกิดขึ้น นั่นก็คือฉีดแล้วพลาสติกไม่ติดโมลล์ หรือเอาออกไม่ได้
เช่รูปที่ 1 ด้านในพาร์ทเป็นสลัก ทำให้ดึงไม่ออก
รูปสอง ติดมันทั้งด้านในและนอก
รูปสุดท้าย ติดด้านในเช่นกัน
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/m172_runner24.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/m172_runner24.jpg.html)
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/jhdj-1.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/jhdj-1.jpg.html)(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/Image21030.gif) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/Image21030.gif.html)
ซึ่งในกรณีที่จำเป็นจริงๆ สับหรับชิ้นส่วนที่ซับซ้อนมาก จะมีการเติมชิ้นส่วนของแม่พิมพ์เข้าไป นั้นก็คือ Slide core ก็คือจากกฐเดิมที่ว่าแม่พิมพ์ต้องมีสองซีก ก็จะมีซีกเล็กๆเพิ่มขึ้นมาตามแต่ความซับซ้อนของชิ้นส่วน บางชิ้นประกบซีกบนล่างซ้ายขวาก็มี
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/images.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/images.jpg.html)(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/Steeringwheellargeimage.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/Steeringwheellargeimage.jpg.html)
อีกอย่างที่จำเป็นก็คือ การจำลองการใหลของพลาสติก เช่นดังในรูป พลาสติกฉีดมาเข้าวงกลม แล้วมาเชื่อมตรงกลาง ทำให้ตรงกลางเชื่อมกันแบบหลวมๆ ทำให้มีโอกาศแตกได้ง่ายเพราะไม่ใช่เนื้อเดียวกันจริงๆ
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/15.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/15.jpg.html)(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/Undercut_external_tab_mold.png) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/Undercut_external_tab_mold.png.html)
อีกส่วนนึงที่จำเป็นคือ การจำลองการถอดแม่พิมพ์
ดังที่เคยกล่าวในหัวข้อ Undercut ไปแล้ว ในกรณีนี้คือชิ้นส่วนพวกตรงๆ ถ้าตรงมากๆจะทำให้ถอดแม่พิมพ์ยากกว่าชิ้นส่วนที่มีความชัน ทางแก้คือไม่ทำชิ้นส่วนเวลาถอดแม่พิมพ์ให้ตรงพอดีเปะ ใส่องศาไปด้วยหน่อยๆเพื่อให้สามารถถอดแม่พิมพ์ได้อย่างใหลลื่น ไม่งั้นถอดแม่พิมพ์ไป ชิ้นส่วนขรูดกับโมลด์ไป
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/Straight_Ejector_Pin_Core_Pin_Precition_Mould_Fitting.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/Straight_Ejector_Pin_Core_Pin_Precition_Mould_Fitting.jpg.html)(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/21.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/21.jpg.html)
อีกส่วนนึงคือ Ejector pin นั่นก็คือเหล็กกระทุ้งดันชิ้นส่วนออกจากแม่พิมพ์นั่นเอง การวางออกแบบสำหรับพลาสติกโมเดลมักพยายามวางไม่ให้โดนส่วนที่โชว์ให้เห็น ถ้าพลิกมาด้านหลังเจอรอยกลมๆก็นั่นแหล่ะ
ซึ่งถ้าออกแบบมาไม่ได้ มันจะกินเนื้อพลาสติกไปเยอะ นั้่นคือออกแบบมาวางตำแหน่งไม่ดี
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/nickel-plated-manifold-plate.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/nickel-plated-manifold-plate.jpg.html)[/URL](http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/029_1.gif) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/029_1.gif.html)
อีกส่วนที่สำคัญคือ จัดการทำ Air vent
เนื่องจากภายในแม่พิมพ์เป็นศูนย์ยากาศ แล้วเราอัดพลาสติกฉีดเข้าไป จึงจำเป็นต้องมีรูให้อากาศออก ไม่เช่นนั้นก็จะฉีดงานออกมาไม่สุด หรือเป็นรูโหว่เพราะไม่มีทางให้อากาศออก ซึ่งทางลมออกนั้นมักจะเล็กระดับไมครอน ทำให้เวลาฉีดพลาสติกไปแล้วพลาสติกไม่ใหลต่อไปตามรูเหล่านั้น
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/china-inject-mold-comapny3.gif) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/china-inject-mold-comapny3.gif.html)(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/china-inject-mold-comapny4.gif) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/china-inject-mold-comapny4.gif.html)
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/china-inject-mold-comapny5.gif) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/china-inject-mold-comapny5.gif.html)(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/china-inject-mold-comapny11.gif) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/china-inject-mold-comapny11.gif.html)
สุดท้ายที่คำคัญคือการออกแบบเกท ซึ่งอันนี้ก่อนอืนต้องเข้าโปรแกรมซิมูเลทการใหลก่อน
เช่น รูปที่สองของทุกบรรทัด จะเห็นว่าพลาสติกไม่ได้เข้าไปชิ้นงานตรงๆ เช่นรูปขา พลาสติกเวลาฉีดจะไป L2 ก่อน ก่อนที่จะม้วนลงไปด้านล่าง เป็นการฉีดแบบอ้อมๆเพื่อการกระจายตัว เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เช่นการฉีดพวกท่อกลมๆด้านบน หรือลดแรงประทะต่างๆ
ซึ่งเกทแต่ละแบบ มีคุณสมบัติพิเศษต่างๆกัน เช่น Submarine Gate, Pinpoint gate
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/m51_j_skirt.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/m51_j_skirt.jpg.html)
ซึ่งเกทแบบ Pinpoint เท่าที่เคยผ่านตามามีแค่กระโปรง MG จิอองตัวเดียว คือเป็นเกทแบบเล็กมาก ฉีดออกมาแล้วจะสลัดเกททิ้งเอง
6. เริ่มทดลองฉีด หรือที่เรียกว่าเทสโมลด์ เพื่อตรวจสอบปัญหาต่างๆและแก้ไขก่อนการขายจริง
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/hehg.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/hehg.jpg.html)
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/P1140090.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/P1140090.jpg.html)
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/dfhhdh.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/dfhhdh.jpg.html)
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/PlasticsInjectionMoulderJones.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/PlasticsInjectionMoulderJones.jpg.html)
ซึ่งหลักการเครื่องฉีดพลาสติกแบบง่ายๆ ก็ได้แก่ถังใส่พลาสติก และเตาอบร้อนกับตัวสกรุที่หมุนเพื่อดันพลาสติกเข้าไปยังแม่พิมพ์ และหัวฉีดพลาสติก และกลไกเปิด-ปิด แม่พิมพ์
โดนเม็ดพลาสติกจะโดนใส่เข้าไปในแชมเบอร์ด้านบน และใหลเข้าไปสู่บาเรลติดฮีทเตอร์ ซึ่งฮีตเตอร์จะทำความร้อนในระดับที่อุณหภูมิที่สูงพอที่จะทำการละลายพลาสติกให้เหลวเป็นน้ำ
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/rm_injection_moulding.gif) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/rm_injection_moulding.gif.html)
จากนั้นตัวสกรุด้านในบาเรลจะหมุนดันให้พลาสติกใหลเข้าสู่แม่พิมพ์ โดยตัวแม่พอมพ์เองก็โดนปรับอุณหภูมิด้วยเช่นกัน โดยในแม่พิมพ์จะมีการติดตั้งท่อฉีดน้ำร้อน ให้น้ำร้อนใหลไปในเหล็กแม่พิมพ์เพื่อรักษาอุณหภูมิแม่พิมพ์
ไม่เช่นนั้นแล้วทันทีที่ฉีดพลาสติกเข้าแม่พิมพ์ เหล็กที่เย็นจะทำให้พลาสติกแข็งตัวก่อนใหลเข้าไปในแม่พิมพ์จนสุด
ส่วนสำคัญของหลักการฉีดพลาสติกคือ
1. แรงดันแม่พิพม์ แม่พิมพ์ใหญ่มากแรงบีบก็ต้องมาก ไม่งั้นจะประกบไม่สนืททำให้เกิดครีบหรือหล่อเกินมาเยอะ
2. อุณหภูมิหัวฉีด ถ้าน้อยอาจฉีดไม่เต็ม
3. แรงดันหัวฉีด ไม่แรงอาจฉีดไม่สุด
4. อุณหภูมิแม่พิมพ์ ดังที่บ่นด้านบน
5. เวลาปิดแม่พิมพ์ ช่วงเวลาที่มให้พลาสติกแข็งคาแม่พิมพ์
6. เวลาในการฉีดแต่ละครั้ง สัมพันธ์กับด้านบนทั้งหมด
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/6a00d8341bfd2253ef00e5508289a08834-500wi.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/6a00d8341bfd2253ef00e5508289a08834-500wi.jpg.html)
ซึ่งตัวแม่พิมพ์นั้นก็มีหลายขนาด หลายไซส์ ตามแต่ขนาดชิ้นส่วน ซึ่งแน่อนว่ายิ่งใหญ่ก็ยิ่งหนัก และฉีดยากขึ้น และขั้นตอนของการเปิด-ปิด แม่พิมพ์ก็ยิ่งต้องใช้แรงมากขึ้น พวกชิ้นแม่พิมพ์ใหญ่ๆเลยต้องคู่กับเครื่องฉีดที่ขนาดใหญ่ขึ้นเป็นเงาตามตัว
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/6a00d8341bfd2253ef00e550828a158834-500wi.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/6a00d8341bfd2253ef00e550828a158834-500wi.jpg.html)
ซึ่งธรรมดาตามเครื่องฉีด พวกที่เก็บวัศดุพลาสติก จะมีเตาอบ และอุปกรณ์กันความชื้น
ซึ่งเนื้อพลาสติกก่อนที่จะทำการเอาไปฉีดขึ้นงานนั้น จำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องอบไล่ความชื้นไปก่อน เพราะถ้ามีความชื้นปนเปื้อนเข้ามา อาจจะเกิดปัญหาอื่นๆตามมา เช่น ฉีดไม่ได้ขนาด เพราะพอโดนความร้อนความชื้นจะโดนไล่ไป เป็นต้น
ซึ่งในขั้นตอนนี้ ถ้าออกแบบแม่พิมพ์หรือ 3D ไม่ดีจะทำให้เวลาฉีดเกิดปัญหาต่างๆ เช่น
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/jrj.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/jrj.jpg.html)(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/rib1.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/rib1.jpg.html)(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/05.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/05.jpg.html)
พลาสติกยุบ / ผิวเป็นรอย
มักเกิดจากการฉีดพลาสติกที่หนาเกิน ทำให้ผิวพลาสติกแข็งแต่ด้านในยังเป็นน้ำ พอด้านในแข็ง จากสภาพของเหลวสู่ของแข็ง ทำให้เกิดการหดตัวแล้วเกิดการดึงส่วนที่แข็งแล้วให้ยุบลงไปหรือเป็รอยย่น ดังรูป
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/7_120514105720_1.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/7_120514105720_1.jpg.html)
หล่อไม่สุด หรือฉีดออกมาแล้วมีรอยแหว่ง อาจเป็นเพราะเปิดรู Air vent ไม่พอทำให้มีอากาศอัดอยู่ฉีดไม่เข้า ไม่ก็ยังปรับอุณหภูมิไม่พอ
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/20.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/20.jpg.html)
ตะเข็บหนา
อาจเป็นเพราะแรงดันทีอัดแม่พิมพ์เข้าด้วยกันไม่พอ ทำให้เวลาฉีดไปแล้วเลยทะลักออกมาตามขอบ
ไม่ก็ออกแบบแม่พิมพ์มาให้ประกบกันไม่ดีแต่แรก ไม่ก็ออกแบบแม่พิมพ์มาฉีดยาก เลยต้องอัดแรงดันให้พลาสติกยัดเข้าไปให้สุด แต่มันแรงมากไปเลยทะลักออกมาด้านรอยประกอบแม่พิมพ์ด้วย ไม่ก็เกิดการการใช้งานแม่พิมพ์ที่เกินอายุการใช้งาน เนื่องจากจังหวะ เปิด - ปิด แม่พิมพ์นั้นใช้แรงมาก ทำให้เหล็กมีอาการสึกหลอจากแรงอัดค่อนข้างแน่นอน ซึ่งใช้ไปนานๆจะสึกหลอ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับเกรดเหล็กที่เอามาทำแม่พิมพ์ด้วย
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/14.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/14.jpg.html)
รอยเหล็กกระทุ้ง
วางตำแหน่งไม่ดีเลยกินเนื้อ ไม่ก็เกินเนื้อมามากเกินไป เกิดจากการวางตำแหน่งไม่ดี หรือชุ่ย หั่น/ตัน ปรับระยะก็หายแล้ว
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/16.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/16.jpg.html)
รอยถลอก เกิดจากการถอดโมลด์ยาก ดังด้านบนๆ
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/injection-molded-burn-marks.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/injection-molded-burn-marks.jpg.html)
รอยใหม้
เกิดจากแก็สที่ค้างในแม่พิมพ์ออกไม่ได้ แต่โดนอัดมากๆก็เลยจุดไฟใหม้คาแม่พิมพ์ แก้โดยเปิด Air vent ไล่อากาศตามเดิม
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/jetting.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/jetting.jpg.html)
รอยฉีด
แรงดันมากไป เนื่องจากเกทนั้นตรงทำให้แรงดันอัดไปตรงๆ เปลี่ยนเกทไทป์ ซะเพื่อลดแรงกระแทก / แรงดันขณะฉีดพลาสติก ไม่ได้ฉีดเข้าชิ้นงานตรงๆ
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/12.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/12.jpg.html)
ผิวเป็นรอยไม่สม่ำเสมอ
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/mouldingflowline.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/mouldingflowline.jpg.html)
เกิดจากอุณหภูมิแม่พิมพ์น้อยไป
หลักการที่ควรคำนึงถึงเสมอของงานฉีดพลาสติกคือ 1. พลาสติกจะใหลไปที่ๆใหลง่ายก่อนเสมอ 2. ขณะฉีดพลาสติกจะเริ่มแข็งตัวตลอดเวลา
จากการที่อุณหภูมิฉีดน้อยไป หรือแม่พิมพ์เย็นเกิดไปทำให้พลาสติกเกิดการฉีดไป แข็งไป เลยใหลเป็นขั้นบันได ชั้นๆ ตะปุ่มตะปั่ม เพราะมันใหลไปสะดุดไป เลยออกมาผิวดูสะดุด
7. ตรวจสอบระบบการผลิต
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/1377067717208.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/1377067717208.jpg.html)
ในงานฉีดพลาสติก ต้องคำนึงถึงเสมอว่า งานฉีดพลาสติกมีค่าความคลาดเคลื่อนในการฉีดเสมอ
ซึ่งทั้งนั้ทั้งนั้นแล้วแต่เกรดของพลาสติกที่ฉีด
เช่น ABS อัดตราการหดตัวที่ 0.3-0.6%
PP ถ้าจำไม่ผิด (ขี้เกียดเปิดชีทดูละ) 1.6-2.6%
ซึ่งอย่างที่บอกว่าอุณหภูมิหัวฉีด และ ความชื้นในพลาสติกมีส่วนสำคัญมาก เพราะอุณภูมิทำให้วัศดุขยายตัว พอแข็งแล้วเลยหดมากเพราะที่ฉีดไปมันขนายตัวเพราะความร้อน ซึ่งความชิ้นในพลาสติกก็มีผลเช่นกัน
ฉะนั้น จึงทำให้งานบางล็อตได้มา อาจจะฝืด จะแน่น จะหลวมไม่เท่ากัน ตามการปรับอุณหภูมิเครื่องฉีด ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็คือ การสุ่มเช็คตรวจคุณภาพของ QC นั่นเอง
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/1374646710409.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/1374646710409.jpg.html)
อีกหัวข้อนึงที่สำคัณไม่แพ้กัน นั่นก็คือการเทสระบบการขนส่ง
ถ้าไม่มีการเทสนี้เกิดขึ้น กว่าสินค้าจะมาถึงมือเราต้องผ่านรถขนส่ง ผ่านเรือ ผ่านไปรษณีย์ ถ้าไม่เช็คจุดนี้ดีๆกว่าจะถึงมือเราคงเละเสียก่อน
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/m51_runner2.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/m51_runner2.jpg.html)(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/03-1.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/03-1.jpg.html)
ซึ่งแต่ละคนก็มีวิธีป้องกันตนเองแบบต่างๆกันไป ใช้โฟมรองก็เจอมาแล้ว
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/9227_dias9.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/9227_dias9.jpg.html)
ซึ่งหัวข้อเทสที่แพร่หลายที่สุดคือ Vibration test เพื่อจำลองว่าลงเรือแล้วมันสั่ง มันจะรับแรงได้ใหม พลาสติกเขย่าไปมาจนหลุดจากแผงใหม หรือเสียดสีกันจนผิวเป็นรอยใหม
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/url.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/url.jpg.html)(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/n9j25k00000bo0kg.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/n9j25k00000bo0kg.jpg.html)
ซึ่งหลายๆคนอาจจะสงสัยว่าทำไมถุงลุงบันไดเฮียแกใช้สองแบบ คือถุบก็อบแกบ หรือที่เรียกว่าถุง PE และถึงพลาสติกเหนียวที่เรียกว่าถุง PP
ซึ่งถุงสองค่านี้ดูจากกราฟจะพบว่าค่าพารามิเตอร์ไม่เหมือกัน ส่วนตัวก็ว่าเกี่ยวกับการเทสน่ะแหล่ะ เพื่อใช้เลือกว่าจะใช้ถุงอะไร เรื่องราคาต้นทุนไม่แน่ใจเหมือนกัน
8. ทำการวางขาย รับทรัพย์กันไป
(http://i2.photobucket.com/albums/y19/narokiarzel/plasticinjection/1349261102106-1.jpg) (http://s2.photobucket.com/user/narokiarzel/media/plasticinjection/1349261102106-1.jpg.html)
PS1. รูปเซอร์สเอาจาก Google ขอละการให้เครดิท
PS2. จากกระสบการณ์ส่วนตัวล้วนๆ อย่าเชื่ออะไรมาก
PS3. พิมพ์ผิดพิมพ์ถูกขออภัยล่วงหน้า
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=JL69zbcu6Qo[/youtube]
-
ขอบคุณครับ ได้ความรู้มากเลย
ขอถามหนึ่งข้อครับ
การทำแผงแบบอันเดอร์เกทนี่มันยุ่งยากกว่าปกติเยอะเหรอครับถึงได้ทำเฉพาะพวกตัวพิเศษ ไม่ก็ทำเป็นบางชิ้น ถ้าทำออกมาทุกตัวคนต่อน่าจะสบาย
-
โอ่....ได้ข้อมูลด้านอื่นๆเพิ่มเติมนอกจากการต่อพลาโมฯด้วย
นี่ถ้านำไปต่อยอดได้นี่จะมีประโยชน์มากเลย :icongift:
ยกเว้น......จะไปทำโมจีนก๊อปลุงนะ ทำเฉพาะบางชิ้น/บางพาร์ทคงไม่ว่ากันนะ :iconlol:
ว่าแต่ลุงบัน/ลุงคา.มองเห็นแววคนนี้ยังเนี๊ยะ?? :iconjoy:
-
โห คืออึ้งอะครับคุณ naroki รู้ลึกขนาดนี้ได้ยัง
ได้ความรู้ขึ้นเป็นกองเลยครับ แล้วกำลังคิดว่า real grade นี่มันสุดยอดเลยนะครับ ทั้งรายละเอียด ทั้งความคมของชิ้นงาน
ผมเข้าใจเลยว่าทำไมลุงบันไม่ทำตัวใหญ่ เพราะงบประมาณสร้างแม่พิมพ์นี่คงมหาศาลไม่น้อย
แล้วก็แอบทึ่งโมจีนว่า เออจริงๆพี่จีนทำได้ขนาดนี้(โมจีนเกรดดีหน่อยนะ) ก็สุดยอดแล้วเหมือนกันนะครับ
-
สุโค่ยเลยครับ ข้อมูลแน่นปึ๊ก ... ผมเคยสงสัยอยู่เหมือนกันว่าทำไม ผู้ผลิดอย่างพวกอาตี๋ที่ก๊อปงาน ทำไมก๊อบมาทั้งทีไม่ทำให้มันดีๆหน่อย จะยากอะไรต้นแบบก็มีอยู่แล้วนี่นา ละก็เจ้าอื่นทำไมไม่มีผลิดแข่งกะลุงบันเลย(ที่เป็น Gundam อ่ะ ... เดี๋ยวปั๊ดทำเองซะเลย) แต่พอได้มารู้ detail ของการทำเข้า ก็ถึงบางอ้อเลย มันต้องใช้ทั้ง ความรู้ ประสบการณ์ และทุนทรัพย์อย่างสูงเลยคับ เจ้าอื่นๆนี่คงห่างกับลุงบันอีกหลายขุมเลยทีเดียว
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆคับผม
-
เรียนเรื่องนี้อยู่พอดีเลยครับ กำลังจะสอบละ ขอบคุณมากๆครับ
ที่ผมสงสัยที่สุดคือ เค้าผลิตแกนของ RG กับนิ้ว MG แบบใหม่ กันยังไงเนี่ยล่ะ
ใช้วิธีพิเศษหรือว่าฉีดให้เกทมันเล็กจนเลื่อนแล้วขาดไปเองหรอครับ พอมีข้อมูลบ้างมั้ยครับ :iconcryjoy:
-
:iconsweat: ไม่รู้เรื่องมาก่อน กะซื้อมาต่ออย่างเดียว....เหอะ ๆ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลแน่น ๆ ครับ
-
นาย คือ คนจากบริษัทบันไดปลอมตัวมาใช่มั้ย สารภาพมาซะดีๆ ^_^
-
กว่าจะมาเป็นโมให้เล่นได้นี่ หลายขึ้นตอนกันเรยทีเดียว เห็นเเระ ปวดตับ เเต่น่าทึ่งมากในความพยายาม.... :iconsmile:.
-
สุดยอดความรู้สำหรับคนรัก พลาสติกโมเดล เลย
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
-
ขอบคุณมากๆ เลยครับ หายสงสัยไปหลายเรื่อง
-
สุดยอดเลยครับ ความรู้เน้นๆ อ่านแล้วรู้สึกโมมีค่าขึ้นไปเลย
อ่านจบแล้ว ผมว่าขาดไป 1 ขั้นคือขั้น "ย้อมแมว" เปลี่ยนสีเปลี่ยน pack หลังหน่อย ย้อมตัวใหม่ได้อีกกล่อง อิอิ :iconlol:
-
โหวตให้ปักหมุดกระทู้นี้ไปเลยครับผม :iconwink:
-
:iconwish:
-
...โหวตปักหมุดอีกหนึ่งเสียงครับ :iconhappy:
.
.
.
...ว่าแต่พี่นาโรครับ โมเดลตัวๆนึง มีโมลประมาณกี่ชุดครับ (ทุกส่วนเรียกเป็น1ชุด)
เพราะพลาสติกที่ผมทำงานอยู่ เค้ามีระบุด้วย ว่าโมล1 โมล2
งานบางตัวที่ลูกค้าต้องการมากๆ มีถึงโมล5 แถมอายุแต่ละโมล
ยังระบุด้วยว่า ฉีดได้กี่ช็อตๆ เพราะยิ่งฉีด โมลจะยิ่งใหญ่ขึ้น
-
ขอบคุณครับ ได้ความรู้มากเลย
ขอถามหนึ่งข้อครับ
การทำแผงแบบอันเดอร์เกทนี่มันยุ่งยากกว่าปกติเยอะเหรอครับถึงได้ทำเฉพาะพวกตัวพิเศษ ไม่ก็ทำเป็นบางชิ้น ถ้าทำออกมาทุกตัวคนต่อน่าจะสบาย
ถ้าพูดถึงเรื่องความเหนื่อย เท่ากันครับ แต่เรื่องการฉีดนี่ไม่แน่ใจเหมือนกัน เกทแบบตรงๆ ข้อดีคือมันพุ่งตรงๆครับ แต่เกทแบบอันเดอร์เกท เวลาฉีดพลาสติกจะไปชนสันของอันเดอเกทก่อนแล้วม้วนลงไปด้านล่าง ข้อดีคือลดแรงกระแทก และเพิ่มการกระจายตัวของพลาสติกให้ใหลเข้าแม่พิมพ์ครับ คิดภาพน้ำใหลมาแล้วชนสัน แรงประทะมันจะน้อยลงและกระจายตัวออกไป
แต่ถ้าพูดถึงเรื่องการฉีดพลาสติก อันนี้ผมไม่แน่ใจครับ เพราะโมลล์แบบแผงๆอย่างงี้ น่าจะต้องปรับเวลาฉีดให้ไวครับ ไม่งั้นถ้าฉีดปรับเวลาช้าจะเป็นแบบภาพวงแหวนด้านบนคือ เวลามันใหลมารวมตัวกันแล้วจะเชื่อมกันไม่สมบูรณ์เพราะมันเริ่มแข็งไปบ้างแล้ว ซึ่งถ้าใช้เกทแบบนี้ทุกส่วนผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะเป็นอะไรใหม เอาเป็นว่าถ้าเรื่องแกะโมลล์นี่ง่ายพอๆกัน แต่เรื่องฉีดพลาสติกนี่ผมไม่รู้ครับ
เรียนเรื่องนี้อยู่พอดีเลยครับ กำลังจะสอบละ ขอบคุณมากๆครับ
ที่ผมสงสัยที่สุดคือ เค้าผลิตแกนของ RG กับนิ้ว MG แบบใหม่ กันยังไงเนี่ยล่ะ
ใช้วิธีพิเศษหรือว่าฉีดให้เกทมันเล็กจนเลื่อนแล้วขาดไปเองหรอครับ พอมีข้อมูลบ้างมั้ยครับ :iconcryjoy:
เกทแบบเล็กแล้วเลื่อนไปขาดนี่ ไม่น่าใช่ครับ พวกเกทแบบ Pinpoint gate ถึงเกทมันจะฉีกไปเองตามโพรเซสเปิดโมลด์แม่พิมพ์ แต่ยังไงก็ต้องเห็นรอยฉีกของเกทอยู่
เท่าที่ดูน่าจะใช้เครื่องแบบมัลติอินเจคชั่นน่ะครับ คือมีแม่พิมพ์สองอัน ฉีดอันที่หนึ่งเสร็จแล้วกลับแม่พิพม์ไปฉีดอันที่สองต่อ
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=vY4xhOejdiU[/youtube]
ซึ่งแมททีเรียลที่ใช้เป็น ABS กับ PP ซึ่งพอฉีดเสร็จ แมทสองตัวนี้มัไม่เกาะกันอยู่แล้ว ก่อนขยับเล่น RG จึงควรบริหารข้อต่อก่อน แบบในใบต่อทุกครั้ง ให้พลาสติกสองแบบทีมันเกาะกันอยู่ค่อยๆคลายตัวออก
ซึ่งอันนี้ผมวิเคราะห์เอาเองนะว่าน่าจะใช้เครื่องฉีดกับแม่พิมพ์แบบนี้ เพราะผมก็ไม่เคยเห็นโมลล์แบบมัลติอินเจคชั่นลุงแกเหมือนกัน
เกทแบบพินพอยย์นี่เท่าที่เคยเห็นมามีแต่กระโปรงของจิอองค์นั่นแหล่ะครับ เพราะเกทแบบตัดตัวเองหลังฉีด หรือพินพอยย์เกทนี่ฉีดได้แต่งานใหญ่ๆครับ ถ้าฉีดงานเล็กๆแล้วใช้แรงดีดเกทให้ขาดนี่อาจมีแรงกระทบทำงานเสียหายได้ หรืออาจไม่ดีดเกทไม่ขาดเลย
กษัตริยาค่ายElyn พวกไบนน์เดอร์ก็เห็นใช้อยู่นะ สังเกตุดีๆมันจะมีรอยฉีดขาดเล็กๆอยู่เสมอ
ส่วนรอยฉีกนี่ กลับไปดูรูปกระโปรงจิอองด้านบนดูครับ ตรงรูกลางจะเห็นติ่งสีขาวๆเหมือนโดนฉีกอยู่ นั่นล่ะครับรอยหลังฉีกตัวเองของเกทแบบพินพ็อยย์เกท
...ว่าแต่พี่นาโรครับ โมเดลตัวๆนึง มีโมลประมาณกี่ชุดครับ (ทุกส่วนเรียกเป็น1ชุด)
เพราะพลาสติกที่ผมทำงานอยู่ เค้ามีระบุด้วย ว่าโมล1 โมล2
งานบางตัวที่ลูกค้าต้องการมากๆ มีถึงโมล5 แถมอายุแต่ละโมล
ยังระบุด้วยว่า ฉีดได้กี่ช็อตๆ เพราะยิ่งฉีด โมลจะยิ่งใหญ่ขึ้น
1 แผงคือ 1 โมลล์ครับ แต่ถ้ากำลังการผลิตไม่พออาจต้องเพิ่มโมลล์เป็น ลูกที่ 1 ลูกที่สอง
เช่น จะขายกันดั้ม X มาโอ แผง A เป็นแผงใหม่ แผง B เป็นแผงเดิมของกันดั้ม X รวมทั้งหมดมีสองแผง ก็คือกันดั้มเอกมาโอใช้โมลล์สองลูก
แต่ถ้ากำลังการผลิตไม่พอ เพราะกันดั้ม X ขายดีมากจนไม่มีแรงมาฉีดแผง B ให้กันดั้มXมาโอ ก็ต้องสั่งทำโมลล์แผง B เพิ่มอีกลูก
กลายเป็นแผง A มีโมลล์ 1 ลูก
แต่แผง B มีโมล์สองลูก คือแผง B โมลล์ลูกที่ 1 และ แผง B โมลล์ลูกที่สอง ซึ่งเนื่องจากมีโมลล์สองลูกเลยสามารถจับใส่เครื่องฉีด ฉีดพร้อมกันได้สองแผง กำลังการผลิตเพิ่มเป็นสองเท่า
ถ้าสองลูกไม่พอ เพราะต้องเอาไปฉีดกันดั้มXดิวายเดอร์ด้วย ก็อัดเพิ่มไป เป็นแผง B โมลล์ลูกที่ 3 ที่ 4 ก็ว่ากันไป
สรุป X มาโอ มีโมลล์สองลูก คือ แผง A และแผง B รวมสองลูก แต่แผง B มีโมล 4 ลูก อะไรทำนองนี้ครับ
ส่วนแม่พิพม์มีอายุการใช้งานอยู่แล้วตามเกรดเหล็ก อย่างที่บอกน่ะครับว่าขั้นตอนมันมีจังหวะแม่พิมพ์ปิดอัดกระแทกกัน เหล็กกระแทกกันตู้มๆ มันต้องมีสึกหรอกันบ้างเรื่องปรกติ ถ้าฝืนฉีดต่อก็จะเริ่มมีครีบหรือปัญหาอื่นๆตามมาครับ
ผู้ผลิดอย่างพวกอาตี๋ที่ก๊อปงาน ทำไมก๊อบมาทั้งทีไม่ทำให้มันดีๆหน่อย จะยากอะไรต้นแบบก็มีอยู่แล้วนี่นา
ที่เฮียตี๋แกก็อบมาไม่เหมือน เพราะต้นทุนมันสูงครับ
อย่างพวกร่องหรือเส้นเนี่ย ถ้าเป็นกันดั้มลุงบันได สมมุตรว่าร่องเว้นสำหรับวอชหรือดีเทลลุงแกเส้นหนา 0.1 ตามกันดั้มมาร์คเกอร์
โมจีนถ้าจะทำขาย ต้องโมร่องให้หนาๆหน่อย เป็น 0.3-0.5 ไปเลย (สมมุตินะ)
เพราะเส้นลายละเอียดหนา 0.1 ของลุงบันไดนั่นหมายความว่าบนแม่พิมพ์ต้องมีเหล็กเล็กๆเป็นขีดๆยื่นออกมา 0.1 มิล ซึ่งมันบางมาก ถ้าเหล็กเกรดไม่ดีจริงฉีดไปนานๆแล้วทำแม่พิมพ์ฟิตมาไม่ดี ซักวันหักแน่นอน
เพื่อกำลังการผลิตให้มั่นคงถาวร ต้องเปลี่ยนร่องให้ใหญ่ขึ้นเป็น 0.3-0.5 (สมมุตินะ) เพื่อให้เหล็กเส้นที่ว่ามาหนาขึ้นกันหัก เพราะปัจจัยหลายๆอย่าง พวกร่องของโมก็อบเลยมักไม่คมเท่าของลุงบันได ยกเว้นพวกตัวใหญ่ๆ เพราะร่องของลุงบันไดเองก็ใหญ่ตามด้วยเลยไม่ต้องกลัวแม่พิมพ์หัก
ลายละเอียดยึ่งคมยิ่งลึก เหล็กไม่ดียิ่งเสียวหักครับ
(http://img.photobucket.com/albums/v260/prasan/tal2.jpg)
ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้น สรุปสุดท้าย ขึ้นกับค่ายที่ก็อบล้วนๆ ทำดีก็ทำได้ แต่ต้นทุนสูงขึ้นด้วย แต่จากการแข่งขันที่สูงขึ้นเรื่อยๆของโมจีนก็อบ....ผู้บริโภครับผลประโยนช์กันไปเต็มๆ
-
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ
-
ความรู้จากคนวงในเลยนะเนี่ย ไม่เสียเเรงที่เป็นวิศวกร เหอๆ
-
แต่อ่านแค่รอบเดียว ก็ได้ความรู้ดีๆเยอะและเข้าใจง่ายดีครับ :iconlike:
และกระทู้นี้คงต้องเปิดอ่านหลายๆรอบเพื่อทบทวนบ่อย ขออนุญาติเซฟไปเก็บไว้หน่อยละกันครับ
ผมทำงานเกี่ยวกับพลาสติก PVC อยู่อ่ะครับ อนาคตสนใจอยากจะทำนะ แต่อ่านแล้วนี่มันยากมากถึงมากที่สุดแม้จะหลังรวบรวมผู้เชี่ยวชาญมาแล้วก็เถอะ
(มีซื้อหนังสือวิศวะฉีดพลาสติกมา มีแต่สูตร ต้องรับวิศวะมาช่วยอีก อ่านคนเดียวไม่ไหวจริงๆ Very Hard :iconcry:)
แต่เกิดมาซักครั้ง ยังไงมันก็ต้องลองท้าทายดูล่ะนะ :iconcryjoy:
ขอบคุณท่าน Naroki มากครับ :iconlike:
-
ขอบคุณครับ ความรู้แน่ๆเน้นๆกันเลย :iconwish:
เหมือนจะมีไฟล์เป็นดีวีดีโปรโมเกี่ยวกับกระบวนการผลิตกันพลา แต่ผมจะไม่ได้ว่ามันติดมากับกันดั้มภาคไหน :iconsoul:
-
ความรู้ล้วนๆ น่าสนใจมากครับ
ขอบคุณที่เอามาแบ่งปัน
-
ได้ความรู้มากครับ :iconlike: เอ่อคุณต่อกันพลามากี่ปีเหรอครับ เห็นรีวิวเยอะเเถมละเอียดด้วย :iconsmile:
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
-
ข้อมูลเเน่นมากครับ ขอบคุณครับท่ีนำมาแบ่งปัน :icongift: