ผู้เขียน หัวข้อ: สอบถามการแก้จุดขยับหลวมครับ  (อ่าน 6549 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ PaladinMode

  • เริ่มหัดทาสี
  • ***
  • กระทู้: 105
  • Like: 8
  • เพศ: ชาย
สอบถามการแก้จุดขยับหลวมครับ
« เมื่อ: มีนาคม 03, 2015, 01:35:35 pm »
เคยอ่านรีวิวมาหลายอัน เวลาเจอจุดขยับหลวมโดยใช้วิธีอุดกาว
ผมไม่เข้าใจว่าทำยังไงด้วยกาวชนิดไหนครับ
พอดีมาเจอกับตัวเองครับ MG ยุคเก่า
รบกวนช่วยอธิบายหน่อยนะครับ

ออฟไลน์ naykai

  • Verified User
  • ฝึกพ่นสีกระป๋อง
  • *
  • กระทู้: 270
  • Like: 33
Re: สอบถามการแก้จุดขยับหลวมครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 03, 2015, 01:54:50 pm »
*แต้มกาวช้างบางๆ* ตรงแกนข้อต่อจุดขยับครับ ทิ้งไว้ให้แห้งอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง แล้วค่อยประกอบกลับเข้าไปครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 03, 2015, 01:55:16 pm โดย naykai »

ออฟไลน์ unn13

  • Verified User
  • กัน-โอตะ
  • *
  • กระทู้: 983
  • Like: 55
  • เพศ: ชาย
  • ซื้อเท่าไรดองเท่านั้น
Re: สอบถามการแก้จุดขยับหลวมครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 03, 2015, 03:21:57 pm »


ประมาณนี้ครับ แต่ในรูปเป็นผมเคลือบข้อต่อโมจีนสมัยก่อน(โมนรก) เมื่อก่อนผมใช้พุตตี้พอก แต่พุตตี้มันทนการขัดสีได้ไม่ดี ขยับมากๆก็ไม่มีความฝืด หลังๆก็เปลี่ยนมาใช้กาวช้างเคลือบเหมือกันครับ แห้งเร็วกว่าด้วย

ออฟไลน์ naroki

  • Verified User
  • กัน-โอตะ
  • *
  • กระทู้: 3,268
  • Like: 544
  • Time and space with magic
Re: สอบถามการแก้จุดขยับหลวมครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 03, 2015, 09:42:08 pm »
คือ ใช้กาวช้างธรรมดาอ่ะแหล่ะครับ  ทาเคลือบส่วนที่หลวมๆเอา

ทีนี้ ถ้าอยากจะแก้ปัญหา เราต้องว่ากันที่ต้นตอของปัญหาก่อนอ่ะครับ
ที่มาของความฝืด  หรือความแน่นของจุดขยับ  มันก็มาจากสูตร Action = Reaction น่ะแหล่ะครับ
เรามาคุยกันแบบหลักสูตร Static กับฟิสิกส์เบื้องต้นกันเลย คือพูดทุกอย่างด้วยแรง
ทีนี้ การขยับ นั่นคือเราออกแรงดันชิ้นส่วน  รวมไปถึง พวกน้ำหนักตัวต่างๆ นั่นก็คือแรงนั่นเอง นั่นคือ  อันที่จริง ชิ้นส่วนทุกชิ้นมันมีแรงมากระทำในตัวมันเองตลอดอยู่แล้ว  แรงพื้นฐานที่สุดก็แรงจากน้ำหนักตัวมันนั่นแหล่ะ
ทีนี้ มันมีแรงมากระทำต่อชิ้นส่วน เช่น แรงน้ำหนักตัวถ่วงให้ล้ม  สาเหตุที่มันยังคงรูปเดิมไม่ล้ม หรือทรุดไปตามแรง เนื่องจากมันมีรแงมาต้นแรงที่ว่านั่นน่ะแหล่ะครับ คือความแน่นของข้อต่อ
ถ้าแรงที่ข้อต่อล็อคกันเอง มีมากกว่าแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อชิ้นส่วน ชิ้นส่วนก็จะแข็งแรงไม่เอนไปตามน้ำหนักแรงโน้มถ่วง
ในทางกลับกัน ถ้าแรงของข้อต่อนั้นน้อยกว่าแรงโน้มถ่วง นั่นคือมันจะล้มตามแรงโน้มถ่วงแน่ๆ  หรือที่เราเรียกว่าหลวม
โมเดลจะข้อต่อแน่นหรือหลวม ขึ้นกับแรงบีมหรือแรงต้านทานการเคลื่อนที่ของข้อต่อล้วนๆ
ทีนี้  ข้อต่อโมเดลเรามีสองแบบได้แก่ แบบจุดขยับพลาสติก และจุดขยับแบบจอยย์

แรงต้านทานของข้อต่อ  เกิดจากการ บีบ ของข้อต่อต่างๆ  เช่น จุดขยับแบบรูท่อ  จะเกิดจากการขบกันของตัวรูตัวเมียและแท่งตัวผู้
สมมุติว่า รูหมุน มันกว้าง 3 มิล  แต่เดือยเสียบ มันหนา 3 มิล พอดีเป๊ะ แรงเสียดทานมันจะน้อย  เพราะรูมันเท่ากันพอดีเป๊ะ
แต่ทั้งนี้มันขึ้นกับพื้นที่ผิวสัมผัสด้วย ยิ่งพื้นที่สัมผัสกันเยอะเท่าใหร่  แรงเสียดทานมันก็ยิ่งเยอะ ตามฟิสิกทั่วไป แรงเสียดทานเอาแอเรียคูณค่ามิว
ทีนี้ถ้าเราอยากให้แน่น  ทางแก้คือ ทำให้แกนตัวผู้มันใหญ่ขึ้น เช่น รู 3 มิล แต่แท่งเสียบ หนา 3.1 มิล  พอยัดเข้าไป  รูมันจะพยายามคงรูปเดิมของตัวมันเอง มันเลยมีแรงต้านมากระทำที่เดือย ทำให้เดือยโดนบีบแน่นขึ้น ผลคือข้อต่อแน่นขึ้น
ยิงชิ้นส่วนขบกันมากเท่าใหร่ ความแน่นมันก็ยิ่งมากเท่านั้น  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น แรงที่เกิดขึ้นเกิดจากแรงต้านการเสียรูปของวัตถุ ดังนั้นถ้าแรงที่กระทำมากเกิดไป  ผลคือแตกครับ
เช่น รูหนา 3 มิล แต่พลาสติกหนาแค่ 1 มิล  เอาแกนใหญ่ 3.3 มายัด  ผลคือรูที่หนาแค่ 3 มิลอาจจะแตกไปเลยก็ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับค่าความยืดหมุนของวัตถุ

ทีนี้ ข้อต่อเสื่อม เกิดมาจากอะไร

1. วิศวะกรออกแบบพลาดเอง  อันนี้แก้กันเอาเอง เจอได้ทั่วไป ตามประสางานเร่ง ออกแบบตามคู่มือ  ไม่ได้เช็คสภาพงานจริงว่าใช้ได้หรือไม่ ออกแบบไปสั่วๆเอาตัวรอดไปก่อน 
2. ข้อต่อสึก  ดังที่บอกว่า ถ้าชิ้นส่วนขบกันจนเกิดความแน่น เช่น รู 3 มิล แกน 3.1 มิล ถ้าขยับมากๆ มันจะเกิดแรงเสียดสีกันขึ้น  ผิวพลาสติกถ้าแกรดไม่ทนแรงเสียดสี ผิวมันจะแหลกไปเรื่อยๆตามการหมุน แรกๆอาจจะ 3.1 มิล ขยับไปซัก 100 ครั้ง ผิวอาจจะสึกไปเหลือ 3 มิล  จนมันหลวมไปเลยก็ได้ มันเกิดจากจุดขยับพวกพลาสติกธรรมดาที่ไม่ทนต่อแรงเสียดทานเอาซะเลย ดีขึ้นมาหน่อยก็ ABS ดีสุดนี่ POM พอเห็นได้ในของเล่นเกรดดีๆหน่อย  แต่ไม่ได้เอามาใช้กับงานโมเดลนัก  เพราะมันพ่นสีไม่ติด ต้องใช้สีพ่นแบบพิเศษเฉพาะ
3. เบ้ารับสึก  ส่วนมากเกิดจากพวก จอยย์ยาง ที่ใช้บอลจอยย์  คือมันแน่นเพราะเบ้ายางมันรัดบอลจอยย์  แต่ทีนี้เนื่องจากยางมันมีคุณสมบัติที่นิ่ม  ขยับมากๆ มันจะเริ่มเสียรูป เบ้าที่รัดแน่นขึ้น มันจะรัดน้อยลง ผลคือจอยย์หลวมขึ้นมา
เบ้ากลมๆที่เบ้ารับเป็นยาง ส่วนนึงคือเป็นเพราะดึงเข้า ดึงออกมากๆ ทำให้เขี้ยวล็อคเบ้าหลวม
นึกภาพตัว C O โดยที่ C เป็นยางและO เป็นพลาสติกแข็ง
ถ้าเอา O ยัดลงไปใน C แล้วดึงเข้าดึงออกบ่อยๆ C ที่เป็นยางนิ่มจะเสียรูปจนกลายเป็น U ทีนี้พอเอา O ยัดเข้าไป มันจะไม่ล็อคแล้ว
ทางแก้คือขยายขนาด O ให้ยัดเข้าไปแล้วแน่นตามเดิม แต่ถ้าเล่นมากๆอีกมันก็จะเริ่มหลวมอีกเราพมันก็ยัดกันไปจนเบ้าเสียรูปเหมือนเดิม
ทางแก้อีกทางก็ เอาผนังอย่างอื่นมาช่วยบีบให้ U กลายเป็น C เหมือนเดิม  โมเดลหลังๆมันออกแบบให้พวกเบ้ายาง มีผนังพลาสติกหุ้มด้านนอกหมดเพื่อช่วยบีบกันเบ้ายางเสียรูป

ทีนี้หลักๆ  มันจะเกี่ยวกับขนาด  เวลาเพิ่มขนาดเพื่อให้เกิดแรงต้านของข้อต่อต่างๆ  เราจึงนิยมใช้กาวช้าง  เพราะ
1. กาวช้าง  ถ้าแห้ง มันจะทิ้งคราบกาวเสมอ  เช่น แกน 3 มิล  ถ้าทากาวช้างบางๆ พอแห้งสนิทอาจจะเหลือเนื้อใสๆ แข็งๆ บางๆพอดี ทำให้แกนหนาขึ้น ข้อต่อเลยฝืดมากขึ้น
2. เนืิ้อกาวช้าง ทนแรงเสียดสีดีมาก นี่เป็นเหตุผลักๆเลยที่เลือกกาวช้างมาทาข้อต่อ  เพราะผิวมันแข็งกว่า ABS ซะอีก  เราๆท่านๆ ที่เอากระดาษทรายขัดกาวช้างกันประจำคงจะพอรู้ดี ว่ามันขัดยากกว่าพลาสติกธรรมดาซะอีก

วิธีใช้ก็ค่อยๆทาบางๆ ทีละนิดแล้วค่อยๆลองเสียเอา  ถ้าทางมากๆอาจยัดหลวมแตกได้

ส่วนความผิดพลาดจากการออกแบบ  เช่น ใหล่ของเบอร์นนิ่งกันดั้ม อันนี้เล่นยากเฮะ มันต้องแก้ที่โครงสร้างกันเลย

สร้างเพจละนะ
https://www.facebook.com/Narokiastray/

ออฟไลน์ PaladinMode

  • เริ่มหัดทาสี
  • ***
  • กระทู้: 105
  • Like: 8
  • เพศ: ชาย
Re: สอบถามการแก้จุดขยับหลวมครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 11, 2015, 04:07:59 pm »
ขอบคุณข้อมูลของทุกๆท่านครับ
ละเอียดแจ่มแจ้งเลยครับยิ่งของคุณNaroki พิมมาเยอะมากๆทฤษฏีล้วนๆ :iconwish:
ผมไม่รู้จะตอบแทนยังไง ผมแจกไลค์ให้คนละ1 ไลค์นะครับ