ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีติดไฟ LED ให้โมเดล และพื้นฐานข้อมูลหลอดไฟ LED (ไดโอดแปลงแสง)  (อ่าน 113314 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ karn

  • มือใหม่หัดต่อ
  • *
  • กระทู้: 34
  • Like: -15
  • เพศ: ชาย
อยากทราบอุปกรณ์ที่ต้องใช้ต่อLEDกับตัวโมsinanjuอ่ะครับ ใครทราบช่วยบอกทีคับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 21, 2010, 10:03:21 AM โดย K »

ออฟไลน์ earthsphere

  • TG STAFF
  • ลองพ่นแอร์บรัช
  • *
  • กระทู้: 654
  • Like: 9
  • เพศ: ชาย
  • -Inactive-
Re: ต่อLED
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 17, 2010, 07:37:38 PM »
เฉพาะอุปกรณ์หรือ ต้องการวิธีคำนวณวิธีการต่อด้วยครับ
Follow me At Twitter<<<กด

ออฟไลน์ watpong

  • Verified User
  • มือใหม่หัดต่อ
  • *
  • กระทู้: 42
  • Like: -2
  • เพศ: ชาย
  • กันดั้มคือชีวิต
Re: ต่อLED
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 18, 2010, 08:08:30 PM »
อุปกรณ์ก็
เท่าที่ผมจำได้น่อ -.-

****อันที่อยู่ในวงเล็บมีหรือไม่มีก็ได้ครับ

หลอดไฟ LED สีตามที่ต้องการ
หัวแร้ง
ตะกั่ว
(ฟลักซ์)
สายไฟเส้นเล็กๆ
คีมตัดสายไฟ
กาวตราช้าง
(สว่านหรืออะไรก็ได้ที่ใช้เจาะรู)
มีดคัตเตอร์
(สวิตช์ตัวเล็กๆ)
แบตเตอร์รี่ขนาด 3V.(ถ่านไบออสคอมพิวเตอร์)
และที่ขาดไม่ได้ด้วยก็คือ ตัวต้านทานครับ

ถ้าใช้ 1หลอดแล้วใช้กับไฟ 3V. ก็แนะนำตัวต้านทานค่า 100โอห์มครับ
ราคาประมาณตัวละ 1สลึง ละครับ ร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีขายร้านไหนงกหน่อยก็ ตัวละ 1บาท -.-
หรือจะมากกว่านั้นก็ได้แต่อาจจะสว่างน้อยลงหน่อยนึงหรืออาจจะสังเกตุด้วยตาเปล่าไม่เห็นว่ามันน้อยลงแค่ไหน .*.


น่าจะพอได้น่อ
ผมก้อมือใหม่หัดแต่งโมครับ สวยบ้างเละบ้าง   :iconnasty:

ยังไงก็สู้ๆครับลองทำดูไม่มีอะไรยากเกินกว่าสิ่งที่ทำได้ครับ
อย่าท้อถ้ายังไม่ได้ลอง

ถ้าทำแล้วเอามาอวดด้วยนะครับหุๆว่าจะถอย sinanju เหมือนกันหุๆ

ออฟไลน์ karn

  • มือใหม่หัดต่อ
  • *
  • กระทู้: 34
  • Like: -15
  • เพศ: ชาย
Re: ต่อLED
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 18, 2010, 09:23:09 PM »
เฉพาะอุปกรณ์หรือ ต้องการวิธีคำนวณวิธีการต่อด้วยครับ
วิธีคำนวณวิธีการต่อด้วยก็ดีครับ พอดีเพิ่งจะเป็นโมตัวแรกที่จะติดLEDอ่ะคับ

ออฟไลน์ earthsphere

  • TG STAFF
  • ลองพ่นแอร์บรัช
  • *
  • กระทู้: 654
  • Like: 9
  • เพศ: ชาย
  • -Inactive-
Re: ต่อLED
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 19, 2010, 06:18:01 AM »
อธิบายให้ท่านที่ยังไม่เคยมีพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์ก็คงยากหน่อยฮะ
ในที่นี้ขออธิบายแต่ด้านอิเล็กทรอนิกส์ก็แล้วกันครับ พวกวิธีเจาะโม วิธีฝัง เดินสาย ขอยกไว้ในฐานที่หาความรู้ได้ในเว็บนี้จากท่านอื่นๆ ได้ละกันฮะ ^ ^ มีตัวอย่างเยอะเลย

ขออนุญาตทำตัวเป็นผู้รวบรวมแทนผู้เขียน ก็แล้วกันนะครับ
แนะนำว่าเข้าไปอ่านตามลิงก์เครดิตเยอะๆ ผมอาจจะรวบรวมมาลงไม่พอต่อความเข้าใจครับ

ก่อนอื่นเราไปทำความรู้จักกับ LED ก่อนนะครับ

เครดิต
- http://industrial.hidofree.com/category/electronic-electrical/led-%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5/
- http://www.ledonlook.com/cms.php?id_cms=9
- http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87

โค๊ด: [Select]
LED (light-emitting diode) หรือที่เรามักจะเรียกว่า ไดโอดแปลงแสง
การที่เราสามารถมองเห็นแสงของ LED นั้นเป็นเพราะ��ายในตัว LED เมื่อได้รับแรงดันไฟฟ้า จะปล่อยคลื่นแสงออกมา โดยความถี่ของคลื่นแสงที่ความถี่ต่างๆกัน จะทำให้เรามองเห็นเป็นสีต่างๆกันไปด้วย
หลอดLEDที่เราเห็นมีขายกันตามร้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นมีหลายแบบ แต่ละแบบนั้นจะมีหลักการทำงานเหมือนกัน
หลอด LED สามารถเปล่งแสงได้เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้า เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และประสิทธิ��าพในการให้แสงสว่างก็ยังดีกว่าหลอดไฟขนาดเล็กทั่วๆ ไป 
LED โดยทั่วไปมี 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ LED ชนิดที่ตาคนเห็นได้ กับชนิดที่ตาคนมองไม่เห็นต้องใช้ทรานซิสเตอร์มาเป็นตัวรับแสงแทนตาคน






สัญสักษณ์ของ LED ในวงจรไฟฟ้า(จริงๆ มีหลายแบบครับ นี่เป็นแค่แบบเดียว)


วิธีดูขา LED


LED มีรูปร่างหลายแบบมาก แต่ทั่วไปเราจะเจอแบบเหมือนในรูปแหละครับ นอกจากตัวกลมแบบในรูป อาจจะมี ตัวแบนสองขา ตัวเหลี่ยมสี่ขา ฯลฯ
ในที่นี้ขออ้างอิงตัวมาตรฐานก็คือ ตัวกลมแบบในรูป และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5mm ครับ



โค๊ด: [Select]
ขา A หรือ อาโนด
ขา K หรือ แคโทด

LED จะสว่างเมื่อมีกระแสไฟไหลจาก A ไป K นั่นคือ ไฟที่ A ต้องมากกว่า ที่ K
หรือถ้างง ก็คือต้องต่อ ไฟบวกที่ A ไฟลบที่ K นั่นเอง ....แต่อย่าเพิ่งต่อเลยนะ มีรายละเอียดกว่านั้นอีก

ที่ตัว LED แบบหลอดจะสังเกตว่าจะมีรอยบากอยู่ด้านหนึ่ง โดยทั่วไปตำแหน่งรอยบากนี้จะแสดงตำแหน่งขา K แต่ มันก็ไม่จำเป็นเสมอไปครับทางที่ดีเราควรตรวจสอบด้วยตัวเองจะดีกว่า
 

ต่อไปมารู้จักกับตัวต้านทานกันครับ

Credit
- http://www.chontech.ac.th/~electric/html/Resister.htm  (อ.สมพร บุญริน)
- http://www.oknation.net/blog/Bamza/2008/01/09/entry-2
- http://en.wikipedia.org/wiki/Resistor

         
อ้างถึง
  ตัวต้านทานไฟฟ้า คือ อุปกรณ์ที่นักวิทยาศาสตร์ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อต่อร่วมกับวงจรเพื่อบังคับให้ กระแสไฟฟ้าในวงจรเปลี่ยนแปลงตามต้องการ ทำจากวัสดุที่ปล่อยให้อิเล็กตรอนหลุดจากตัวมันได้น้อย

ตัวต้านทานไฟฟ้ามีหน่วยเป็น โอห์ม ( Ohm ) ซึ่งเป็นนามของ George Simon Ohm

หน้าตาที่เห็นบ่อยก็แบบนี้แหละครับ


วิธีอ่านโค๊ตสีบนตัว ต้านทาน (Resistor Color Code Read Method)ส่วนใหญ่นิยมใช้กับตัวต้านทานแบบคาร์บอน (Carbon)


เช่น เป็นแบบ 4 แถบ สี แดง ดำ แดง ทอง ได้ค่า 2 0 2 5% แปลได้ว่า ได้ค่า 20x(10^2) = 20x100 = 2000 โอห์ม ค่าผิดพลาด 5% ครับ

สัญสักษณ์ ตัวต้านทาน แบบ อเมริกา



ต้องมีตัวต้านทาน เพื่อเป็นตัวปรับค่าให้ LED สว่างพอดีและไม่เสียหายครับ

เพิ่มเติมนิดครับ

สัญลักษณ์แหล่งจ่ายไฟ ในที่นี้คือแบตเตอรี่ครับ



ต่อไปนี้จะเป็นเรื่องการคำนวณซึ่ง ถ้าไม่ได้มีความรู้ด้านนี้มันจะเข้าใจยากมากเลย ข้ามไปล่างๆ ก็ได้นะ

V= แรงเคลื่อนไฟฟ้า หรือศักย์ไฟฟ้า (Voltage) มีหน่วยเป็น Volt(V)
I= กระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็น Amp(A)
R=ความต้านทานไฟฟ้า มีหน่วยเป็น Ohm(สัญลักษณ์เป็นตัวโอเมก้า)

กฏของโอห์ม

V=IR

LED ต้องการ I ประมาณ 20mA(มิลลิแอมป์) หรือ 0.02A (มิลลิ = 1/1000)
และต้องการ V ประมาณ 1.5-3V แล้วแต่สี ถ้าสีแดงจะอยู่ประมาณ 0.7V-1.1V


อ้างถึง
แรงดันที่เราจะใช้ให้LEDเปล่งแสงได้จะอยู่ ที่ประมาณ 1.5 - 3โวลต์ โดยอา0จะขึ้นอยู่กับสีและคุณสมบัติเฉพาะตัวนั้นๆ
โดยทั่วไปจะใช้ที่ 2.5 - 3 โวลต์ และ LED จะมีกระแสไหลผ่าน(กระแสไบอัสตรง)ได้ประมาณ 20 mA(มิลิแอมป์)


อ้างถึง
วงจรการทำงานของ LED
เรา สามารถต่อการใช้งาน LED ได้ดังรูป โดยทั้งนี้เราจะต้องมีการคำนวณการต่อค่าตัวต้านทานไปด้วยนะครับ หากเราเลือกใช้ค่าความต้านทานผิด อาจจะทำให้ LED เสียหายหรือขาดได้
ตัวอย่างการคำนวณพื้นฐาน ในที่นี้เราจะให้ LED มีแรงดันตกคร่อม 2V และ มีกระแสไหลผ่านตัวมันได้ 20 mA การคำนวณค่าตัวต้านทานที่มาต่อกับ จะได้ว่า ค่าความต้านทาน = (แรงดันแหล่งจ่าย - แรงดันตกคร่อมLED) / 0.02 (0.02 คือ 20mA)
ตัวอย่าง
เมื่อแหล่งจ่าย 5 V จะได้ว่า R = (5 - 2) / 0.02 = 150 คือใช้ ตัวต้านทาน 150 โอห์ม
เมื่อแหล่งจ่าย 9 V จะได้ว่า R = (9 - 2) / 0.02 = 350 คือใช้ ตัวต้านทาน 350 โอห์ม
เมื่อแหล่งจ่าย 12 V จะได้ว่า R = (12 - 2) / 0.02 = 500 คือใช้ ตัวต้านทาน 500 โอห์ม

ค่าความต้านทานที่แนะนำ

แหล่งจ่าย    ค่าความต้านทาน (โอห์ม)
3V    100 to 200
5V    150 to 250
9V    350 to 450
12V    500 to 1K

การตรวจสอบ LED

อ้างถึง
การใช้แบตเตอรี่ก้อนกลม
ตรวจ สอบ โดยวิธีนี้จะเป็นการดูว่า LED นั้นเป็นสีอะไร และยังสามารถตรวจสอบตำแหล่งขา A K ได้อีกด้วย




แบตเตอรี่แบบจะมีด้าน บวก และ ลบดังรูป การตรวจสอบใช้แค่ 1 ก้อนก็เพียงพอแล้ว ให้เอาLED มาต่อตามรูปโดยสลับขา 2 ครั้งผลที่ได้คือ
จะติด 1 ครั้งและ ดับ 1 ครั้ง แสดงว่า LED ปกติ และ ดูที่ตอนที่ LED ติดไปขาที่ต่อขั้วบวก(+) จะเป็นขั้ว A และขาที่ต่อขั้วลบ(-) จะเป็นขั้ว K
ถ้าไม่ติดทั้ง 2 ครั้งแสดง LED นั้นเสีย ซึ่งอาจจะขาดได้


พอเสร็จแล้วก็บัดกรีสายแล้วก็ทำ switch แล้วก็หาตำแหน่งฝังได้ตามสะดวก

ถ้างงตรงไหน ถามเพิ่มได้ครับผม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 19, 2010, 06:26:42 AM โดย earthsphere »
Follow me At Twitter<<<กด

ออฟไลน์ karn

  • มือใหม่หัดต่อ
  • *
  • กระทู้: 34
  • Like: -15
  • เพศ: ชาย
Re: ต่อLED
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มีนาคม 19, 2010, 10:43:31 PM »
อย่างงี้ถ้าผมจะทำไฟLEDของตัวsinanjuก็ทำได้ตามนี้เลยสินะครับ>>> http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=9887.0 
ว่าแต่ทำไมไม่เห็นจะมีตัวต้านทานซักกะตัวเลยอ่ะครับหรือว่ากระแสไฟมันจะพอดี ถ้าพอดีเราจะรู้ได้ยังไงครับว่าต้องเลือกถ่านขนาดเท่าไหร่ถึงจะพอดี รบกวนอีกเรื่องคับเหนในกระทู้บอกว่าใช้ถ่านกระดุมขนาด LR-41 นี่คือขนาดทั่วไปที่ใส่นาฬิการึป่าวคับ

ออฟไลน์ earthsphere

  • TG STAFF
  • ลองพ่นแอร์บรัช
  • *
  • กระทู้: 654
  • Like: 9
  • เพศ: ชาย
  • -Inactive-
Re: ต่อLED
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มีนาคม 20, 2010, 02:56:59 AM »
ทำได้ตามนั้นเลยครับ

เรื่องตัวต้านทาน
เนื่องจากเค้าใช้ถ่าน LR-41 ที่มีแรงดันเพียงแค่ 1.5 V จึงทำให้ต่อตรงกับ LED สีแดงที่มีแรงดันตกคร่อม 0.7-1.5V ได้โดยไม่ต้องผ่านตัวต้านทานครับ
จริงๆ จะต่อก็ได้ครับ แต่ค่ามันจะน้อยมาก ประมาณ 25 โอห์ม ซึ่งค่าขนาดนี้ใส่ไม่ใส่ ไม่ค่อยมีผลครับ สีแดงบางตัวต้องการ 2V ก็มีครับ
ถ้าเอาเป๊ะ ต้องหา datasheet ของ LED เบอร์นั้นๆ มาอ่านเลยฮะ ซึ่งถ้าซื้อแบกะดิน มันไม่มีแน่ๆ

แต่ถ้าเป็นสีเขียว หรือฟ้า แรงดันจะไม่พอครับ LED จะไม่สว่าง ต้องใช้ถ่านขนาด 3V แล้วต่อตัวต้านทานครับ เพราะสีพวกนี้แรงดันที่ใช้ต้องมีอย่างน้อย 2V ครับ

เลือกถ่าน ลองดูเบอร์ตามนี้ฮะ ดูช่อง Nominal Voltage คือแรงดันของถ่านเบอร์นั้นๆ ครับ
http://www.maxell.co.jp/e/products/materials/micro_battery.html

ถ่าน LR-41 คือถ่านนาฬิกาปกติ หาซื้อได้ทั่วไปครับ

Follow me At Twitter<<<กด

ออฟไลน์ karn

  • มือใหม่หัดต่อ
  • *
  • กระทู้: 34
  • Like: -15
  • เพศ: ชาย
Re: ต่อLED
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มีนาคม 20, 2010, 01:14:08 PM »
อ่องี้แสดงว่าตัวLEDที่ค่ามันพอดีหายากสินะไม่ใช่ถ่านหายากซะแล้ว -*- ถ้าไปแถวคลองถมLEDจะมีบอกค่ามั๊ยอ่ะคับ เพราะไปแถวนั้นอยุบ่อยๆอ่ะคับ แล้วถ้าผมจะต่อLEDสีเขียวจะทำไงอ่ะคับ ก็คือต้องเปลี่ยนขนาดถ่านใหม่แล้วก็เพิ่มตัวต้านทานไปด้วยสินะครับ แล้วจะรู้ได้ยังไงอ่ะครับว่าตัวต้านทานอันไหนต้องใช้กับถ่านตัวไหนอ่ะคับ ยังมึนๆอยุเลย หรือว่าถามที่ร้านเอา ง่ายดีคับ555 :iconsmile: แล้วตัวถ่านที่ขนาดพอดีกับท่อพลังงานของsinanjuก็ดูเหมือนว่าจะมีแค่ LR-41แค่นั้นเองนิคับ ถ้าเราอยากจะใช้สีเขียวแต่ใช้ถ่าน LR-41นี้หลายก้อนหน่อยมันจะช่วยได้ไหมอ่ะครับ พอดีไม่ค่อยมีความรู้เรื่องไฟฟ้าอ่ะคับช่วยทีนะครับ ขอบคุณมากๆเลยคับ :icongift:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 20, 2010, 01:20:52 PM โดย karn »

ออฟไลน์ earthsphere

  • TG STAFF
  • ลองพ่นแอร์บรัช
  • *
  • กระทู้: 654
  • Like: 9
  • เพศ: ชาย
  • -Inactive-
Re: ต่อLED
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มีนาคม 20, 2010, 01:31:20 PM »
1. สีเขียว ใช้ LR-41 สองก้อนต่ออนุกรมกัน ก็ได้ 3V แล้วใช้ตัวต้านทาน 100 โอห์ม ครับ

2. ดูจากด้านบนผมมีค่าตัวต้านทานสำหรับถ่านแต่ละค่าแนะนำไว้แล้วครับ เช่น CR1025 มีค่าแรงดัน 3V ก็ใช้ตัวต้านทาน 100-200 โอห์ม ครับ

3. LED ตามคลองถมไม่มี spec บอกหรอกฮะ ที่มีคือร้านใหญ่ ผมขอยกตัวอย่างของร้าน Electronics source ละกันฮะ

http://www.es.co.th/detail.asp?Prod=LG3330

จะมี datasheet ลองกดไปอ่านได้ครับ 
Follow me At Twitter<<<กด

ออฟไลน์ SonicRoute

  • Verified User
  • เริ่มหัดทาสี
  • *
  • กระทู้: 132
  • Like: -3
  • เพศ: ชาย
  • Two Sides To Every Story
Re: ต่อLED
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: มีนาคม 20, 2010, 01:40:49 PM »
ปักหมุดดีมั๊ยครับ เนื้อหาน่าสนใจทีเดียว 

ออฟไลน์ karn

  • มือใหม่หัดต่อ
  • *
  • กระทู้: 34
  • Like: -15
  • เพศ: ชาย
Re: ต่อLED
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: มีนาคม 20, 2010, 03:25:01 PM »
แล้วอย่างงี้เราจะรู้ได้ยังไงอ่ะครับว่าLEDสีต่างๆต้องใช้แรงดันเท่าไหร่ เช่น สีเขียวหรือสีฟ้าใช้3v แดงใช้1.5 แล้วสีอื่นหละคับ เช่น สีน้ำเงิน เหลือง ส้ม ประมาณนี้อ่ะครับพอจะทราบรึป่าวคับ

ออฟไลน์ adc

  • Verified User
  • มือใหม่หัดต่อ
  • *
  • กระทู้: 41
  • Like: 0
Re: ต่อLED
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: มีนาคม 20, 2010, 04:27:03 PM »
ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ earthsphere

  • TG STAFF
  • ลองพ่นแอร์บรัช
  • *
  • กระทู้: 654
  • Like: 9
  • เพศ: ชาย
  • -Inactive-
Re: ต่อLED
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: มีนาคม 21, 2010, 01:34:05 AM »
แล้วอย่างงี้เราจะรู้ได้ยังไงอ่ะครับว่าLEDสีต่างๆต้องใช้แรงดันเท่าไหร่ เช่น สีเขียวหรือสีฟ้าใช้3v แดงใช้1.5 แล้วสีอื่นหละคับ เช่น สีน้ำเงิน เหลือง ส้ม ประมาณนี้อ่ะครับพอจะทราบรึป่าวคับ


ลองดูที่นี่ก่อนก็ได้ฮะ

http://www.oksolar.com/led/led_color_chart.htm


แต่ปกติผมจะใช้กะๆ เอาฮะ และดู datasheet เป็นหลักครับ (พอดีเคยทำงานเกี่ยวกะทางนี้มาครับ)
Follow me At Twitter<<<กด

ออฟไลน์ dreamcatcher

  • มือใหม่หัดต่อ
  • *
  • กระทู้: 38
  • Like: -225
Re: ต่อLED
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: มีนาคม 21, 2010, 02:24:14 AM »
ต่ออย่างนี้ ไฟจะติดหรือเปล่าครับ และผมควรใช้ ถ่ามเกมกด กี่ก้อน  เรียกว่าถ่านอะไร เรียกไม่ถูก รู้แต่ว่ากลมๆ เล็กๆครับ


ออฟไลน์ earthsphere

  • TG STAFF
  • ลองพ่นแอร์บรัช
  • *
  • กระทู้: 654
  • Like: 9
  • เพศ: ชาย
  • -Inactive-
Re: ต่อLED
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: มีนาคม 21, 2010, 03:50:11 AM »
^ ไม่น่าจะติด เพราะแรงดันไม่พอให้หลอดทุกตัว แต่ถ้าแรงดันพอก็อาจจะติดได้ครับ แต่ติดไม่สม่ำเสมอ อีกอย่าง ถ้าต่อแบบนี้ หลอดไหนขาด ก็จะใช้ไม่ได้ทั้งหมดครับ

น่าจะต่อแบบขนานมากกว่าครับ (พอดีผมวาดรูปไม่เก่งนะ แต่ให้ขั้ว A ของ LED ทุกตัวต่อกับขั้วบวกของถ่าน ส่วนขั้ว K ต่อกับขั้วลบครับ)

ถ่านเกมกดแบบที่ว่า อ่านที่ถ่านจะมีรหัสบอกครับ ว่า LR เบอร์อะไร หรือ CR เบอร์อะไร แล้วเปิดตารางก็จะทราบแรงดันของถ่านนั้นๆ ครับ แล้วก็เอาไปคำนวณตามระเบียบ


ผมลงกฏของโอห์มไปแล้ว เดี๋ยวต่อไปว่างๆ จะเอาลักษณะการต่อวงจรแบบขนานกะอนุกรมมาลงเพิ่มให้ละกันฮะ

Follow me At Twitter<<<กด

ออฟไลน์ chern

  • มือใหม่หัดต่อ
  • *
  • กระทู้: 1
  • Like: 0
Re: ต่อLED
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: มีนาคม 21, 2010, 09:55:26 AM »
แนะ หน่อยนะครับ 
ถ้าต่อ อนุกรม  แบบคุณ dreamcatcher ดู แรงดันถ่ายหน่อยนะครับ LED จะกินตัวละประมาณ 0.7V ( ทั่วไปนะครับ) แนะนำต่อขนานแบบคุณ earthsphere 


เพื่อ GUNDAM ตัวแรก  รีบเก็บข้อมูล  ><

ออฟไลน์ watpong

  • Verified User
  • มือใหม่หัดต่อ
  • *
  • กระทู้: 42
  • Like: -2
  • เพศ: ชาย
  • กันดั้มคือชีวิต
มาช่วยเพิ่มเติมครับ








การต่อแบบนี้เรียกว่าการต่อวงจรแบบอนุกรมครับ

วงจรอนุกรม 

เป็นการนำเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดหลายๆ อันมาต่อเรียงกันไปเหมือนลูกโซ่
กล่าวคือ ปลายของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 1 นำไปต่อ กับต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 2 และต่อเรียงกันไปเรื่อยๆ
จนหมด แล้วนำไปต่อเข้ากับแหล่งกำเนิด การต่อวงจรแบบอนุกรมจะมีทางเดินของกระแสไฟฟ้าได้ทางเดียวเท่านั้น
ถ้าเกิดเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่งเปิดวงจรหรือขาด จะทำให้วงจรทั้งหมดไม่ทำงาน



ผลจากการต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม
- กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านในวงจรเท่ากันหมด
- ความต้านทานรวมของวงจรเท่ากับผลบวกของความต้องการแต่ละตัว
- แรงดันไฟฟ้ารวม��ายในวงจรจะเท่ากับผลบวกของแรงดันตกคร่อมของตัวต้านทานแต่ละ ตัว
- ถ้าจุดหนึ่งจุดใด��ายในวงจรขาดไฟฟ้าจะดับหมดทุกจุด


เพิ่มอีกนิด ก็คือการต่อแบบอนุกรมจะทำให้มีค่าความต้านทานเพิ่มขึ้นครับ
เหมือนเราต่อลำโพงแบบอนุกรมเช่นเดียวกับหลอดไฟก็ทำให้เสียงเบาลงครับเพราะจะทำให้ค่าความต้านทานของลำโพงสูงขึ้น
ก็คือเช่นเดียวกับหลอด LED ครับ ยิ่งต่ออนุกรมเยอะประสิทธิ��าพในการก็ลดลง จึงจำเป็นต้องเพิ่มแรงดันไฟเข้าไปอีก


กล่าวคือ ถ้าหากต่อวงจรแบบอนุกรมจะทำให้หลอดไฟทุกหลอดติดสว่างเท่ากันหมดครับแต่ว่าสว่างมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับ
แรงดันไฟแหล่งกำเนิดครับเพราะจะใช้กระแสเยอะกว่าวงจรแบบขนาน




-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------





วงจรขนาน 

เป็นการนำเอาต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกๆ ตัวมาต่อรวมกัน และต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดที่จุดหนึ่ง นำปลายสายของทุกๆ ตัวมาต่อรวมกันและนำไปต่อกับแหล่งกำเนิดอีกจุดหนึ่งที่เหลือ ซึ่งเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละอันต่อเรียบร้อยแล้วจะกลายเป็นวงจรย่อย กระแสไฟฟ้าที่ไหลจะสามารถไหลได้หลายทางขึ้นอยู่กับตัวของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ นำมาต่อขนานกัน ถ้าเกิดในวงจรมีเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวหนึ่งขาดหรือเปิดวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหลือก็ยังสามารถทำงานได้ ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยปัจจุบันจะเป็นการต่อวงจรแบบนี้ทั้งสิ้น


                       คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรขนาน

1. กระแสไฟฟ้ารวม ของวงจรขนาน จะมีค่าเท่ากับกระแสไฟฟ้าย่อยที่ไหลในแต่ละสาขาของวงจรรวมกัน

2. แรงดันไฟฟ้าตก คร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร จะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด

3. ความต้านทานรวม ของวงจร จะมีค่าน้อยกว่าความต้านทานตัวที่น้อยที่สุดที่ต่ออยู่ในวงจร


กล่าวโดยสรุปก็คือเมื่อต่อวงจรแบบขนานก็จะทำให้หลอดไฟแต่ละหลอดสว่างไม่เท่ากันครับ
รู้สึกว่าหลอดสุดท้ายจะสว่างมากที่สุดนะครับถ้าผมจำไม่ผิด




-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------




วงจรผสม 

เป็นวงจรที่นำเอาวิธีการต่อแบบอนุกรม และวิธีการต่อแบบขนานมารวมให้เป็นวงจรเดียวกัน ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะของการต่อได้     
 2 ลักษณะดังนี้

3.1 วงจรผสมแบบ อนุกรม-ขนาน เป็นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดไปต่อกันอย่างอนุกรมก่อน แล้วจึงนำไปต่อกันแบบขนานอีกครั้งหนึ่ง

3.2 วงจรผสมแบบ ขนาน-อนุกรม เป็นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดไปต่อกันอย่างขนานก่อน แล้วจึงนำไปต่อกันแบบอนุกรมอีกครั้งหนึ่ง

                         คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรผสม

เป็นการนำเอาคุณสมบัติ ของวงจรอนุกรม และคุณสมบัติของวงจรขนานมารวมกัน
ซึ่งหมายความว่าถ้าตำแหน่งที่มีการต่อแบบอนุกรม ก็เอาคุณสมบัติ     
ของวงจรการต่ออนุกรมมาพิจารณา ตำแหน่งใดที่มีการต่อแบบขนาน
ก็เอาคุณสมบัติของวงจรการต่อขนานมาพิจารณาไปทีละขั้นตอน


ยังมีการต่อวงจรอีก 2แบบนะครับคือแบบเดลต้า(D)   และสตาร์ครับ(Y)
การหาค่าของวงจรผสมซึ่งผมก็เรียนมาและเป็นลูกศิษย์ที่ดีของอาจารย์ก็ได้คืนท่านไปหมดแล้ว  :iconnasty:





แบบที่คุณ chern พูดก็ถูกครับหลอด LED(Light Emiting Diode) หลอดไดโอดเปล่งแสง

เป็นอุปกรณ์ที่ผลิตมาจากสารกึ่งตัวนำครับซึ่งจะสามารถเป็นตัวเหนี่ยวและตัวนำไฟฟ้าได้

ถ้าหากต่อถูกขั้ว อาโนด( + )   คาโธด( - )  ก็จะทำให้กระแสไหลผ่านได้ครับแต่ว่ากระแสต้องมี 0.7V. ขึ้นไปครับ
จึงจะทำให้อุปกรณ์ที่เป็นสารกึ่งตัวนำทำงานครับ

ถ้าหากต่อผิดขั้ว อาโนด( + )   คาโธด( - )   ก็จะทำให้มีค่าความต้านทานสูงครับไฟฟ้าก็จะไม่สามารถผ่านไปได้ครับ





วันนี้ผมก็ขอจบวิชาอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นเพียงเท่านี้ครับ    :iconhappy:

เครดิต
ขอบคุณเว็บ  http://www.chait.ob.tc   และ  http://www.school.net.th/  ครับที่ให้ข้อมูลดีๆเรื่องอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 21, 2010, 02:15:44 PM โดย watpong »

ออฟไลน์ DoraChung

  • Verified User
  • ต่อดิบตัดเส้น
  • *
  • กระทู้: 79
  • Like: 2
Re: ต่อLED
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: มีนาคม 21, 2010, 08:07:55 PM »
ต่ออย่างนี้ ไฟจะติดหรือเปล่าครับ และผมควรใช้ ถ่ามเกมกด กี่ก้อน  เรียกว่าถ่านอะไร เรียกไม่ถูก รู้แต่ว่ากลมๆ เล็กๆครับ



ขอเพิ่มรายละเอียดจากคุณมุขอีกนิดนะครับ การต่อแบบนี้อาจทำได้ถ้าแหล่งจ่ายมีแรงดันสูงพอ แต่ไม่เหมาะด้วยเหตุผลหลายประการ
1 ดังที่คุณมุขบอก ถ้าหลอดใดหลอดหนึ่งขาด จะไม่ติดเลยแม่แต่ดวงเดียวเพราะไม่ครบวงจร
2 เป็นวงจรที่เสี่ยงต่อการเสียหายของหลอด เพราะแรงดันตกคร่อม LED แต่ละตัวไม่เท่ากัน 100% แต่กระแสไหลผ่านเท่ากัน ดังนั้น บางคนอาจเพิ่มแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่าย เพื่อให้ LED บางตัวที่สว่างน้อยสว่างมากขึ้น และแน่นอนว่ากระแสก็ไหลผ่านมากขึ้นด้วย แต่อย่าลืมว่าการทำงานของ LED นั้นเหมือนกับไดโอด มีอัตราการทนกระแสจำกัด การที่กระแสไหลเพิ่มขึ้น จะทำให้ LED บางตัวที่ติดสว่างอยู่แล้วมีโอกาสสูงที่จะเสียหายก่อน LED ตัวอื่น โดยในกรณีนี้จะเห็นได้ชัดเมื่อใช้ LED ต่างสีกันมาต่ออนุกรมกัน เนื่องจากแรงดันที่จะทำให้ LED แต่ละสีติดสว่างนั้นไม่เท่ากัน (เช่นสีแดงต่ออนุกรมกับสีเขียว ซึ่งถ้าเป็น LED จากโรงงานเดียวกันที่มี Spec ความสว่างใกล้เคียงกัน LED สีแดงจะใช้แรงดันสูงกว่าในการทำให้ติด) เมื่อต่อในวงจรอนุกรม แรงดันที่ตกคร่อม LED แต่ละตัวจะต่างกันพอสมควร ทำให้ LED หลอดใดหลอดหนึ่งเสียหายได้ง่ายเมื่อเพิ่มแรงดันมากเกินไป (ใครใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบปรับค่าได้จะลองอนุกรมกันแล้วค่อยๆเพิ่มแรงดันดูก็ได้นะครับ โดยมาก LED สีเขียวจะติดก่อน LED สีแดง และจะขาดก่อน LED สีแดงถ้าเพิ่มแรงดันมากเกินไป)
3 จากที่กล่าวไว้ในข้อ 2 แรงดันตกคร่อมมันไม่เท่ากัน ทำให้มีโอกาสสูงที่ ต่ออนุกรมแล้วสว่างไม่เท่ากันนั่นแหละครับ

แนะ หน่อยนะครับ 
ถ้าต่อ อนุกรม  แบบคุณ dreamcatcher ดู แรงดันถ่ายหน่อยนะครับ LED จะกินตัวละประมาณ 0.7V ( ทั่วไปนะครับ) แนะนำต่อขนานแบบคุณ earthsphere 




ขอเพิ่มเติมจากคุณ chern อีกนิดนะครับ ว่าการต่อแบบนี้ แรงดันที่ตกคร่อม LED แต่ละตัวจะเท่ากัน 100% แต่กระแสไม่เท่ากันซะทีเดียว วิธีนี้อาจใช้ได้กับ LED ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันครับ ถ้า LED ต่างประเ

ออฟไลน์ watpong

  • Verified User
  • มือใหม่หัดต่อ
  • *
  • กระทู้: 42
  • Like: -2
  • เพศ: ชาย
  • กันดั้มคือชีวิต
หุๆกลายเป็นกระทู้แลกเปลี่ยนความคิดเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ไปแล้ว     :iconhihi:

ออฟไลน์ ultracheng

  • มือใหม่หัดต่อ
  • *
  • กระทู้: 37
  • Like: -5
ช่วยแนะนำร้านขายที่อยู่แถวเมเจอร์รัชโยธินอะครับ